พลาสติกวิศวกรรม (ซุปเปอร์ลีน)
ENGINEERING PLASTICS
ULTRA HIGH MOLECULAR WEIGHT , HIGH DENSITY POLYETHYLENE
(UHMW HDPE) คือพลาสติกเทคนิคประเภทพอลีเอททีลีนชนิดมีความหนาแน่นของโมเลกุลสูง มีลักษณะทางกายภาพเป็นวัตถุทึบแสง ปกติจะมีสีขาวขุ่นจับดูแล้วจะมีลักษณะลื่น คุณสมบัติที่ดีเด่นคือความหนาแน่นของโมเลกุลถึง 6,000,000 MOL./G จึงส่งผลให้ SUPERLENE ULTRA-HIGH มีความทนทานต่อการสึกหรอสูงมาก เหมาะกับงานที่ต้องการความทนทานต่อแรงกระแทกและเสียดสี นอกจากนี้แล้วยังคงทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมีด้วย นิยมใช้ในอุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมขนส่ง
โดยคุณสมบัติพื้นฐานแล้ว SUPERLENE ULTRA-HIGH เป็นสารไม่มีพิษไม่ละลายเจือปน กับน้ำหรืออาหาร จึงใช้ในงานที่ต้องสัมผัสกับอาหารได้ โดยได้รับการรับรองคุณสมบัตินี้จากกระทรวงสาธารณะสุข แห่งสหพันธ์สาธารณะรัฐเยอรมัน
การนำ SUPERLENE ULTRA-HIGH ไปใช้จะเหมาะสมกับการใช้งานดังต่อไปนี้
แท่นรองไม้ตีกระสวย ลูกรอกของเครื่องขนถ่ายสินค้า “ลูกรอกนำสายพานลำเลียง”ลูกล้อรถเข็น สลิปเปอร์ลิฟท์, บูชที่ต้องการความลื่นตัวสูง ตลับลูกปืน, บูชเรือเดินทะเล เรือประมงเรือหางยาว รางเลื่อน เขียงรองรับใบมีด รวมทั้งงานที่ต้องการ ความทนทานต่อการเสียดสีตลอดเวลา ฯลฯ
CASTNYLON เป็นไนลอนชนิดใหม่ที่ได้รับการพัฒนา ใช้ทำชิ้นส่วนเครื่องจักรกลทดแทนโลหะ และงานวิศวกรรมอื่นๆ ได้หลายชนิด เช่น บูช แบริ่ง เกียร์ เป็นต้น สามารถใช้งานได้ดีในสภาพที่มีการกัดกร่อนสูง ทนต่อสารเคมีได้ดี ทนแรงกระแทก แรงเฉือนได้ดี มีความเหนียวหยุ่นตัวเล็กน้อย
CASTNYLON เป็นไนลอนชนิดหนึ่งที่มีสารหล่อลื่นอยู่ภายใน ทนต่อการเสียดทานได้ดีกว่าไนลอนธรรมดา เนื่องจากภายในเนื้อจะมีสารหล่อลื่นกระจายอยู่ทั่วไปอย่างสม่ำเสมอ จึงทำให้ทนต่อการสึกหรอและทนต่อการขีดข่วนได้ดี
ถึงแม้ว่าจะใช้งานหนัก สารหล่อลื่นจะไม่กระจายออกหรือแห้ง นอกจากนั้น CASTNYLON ยังทนต่อแรงกระแทก (SHCOK LOADING) และสารเคมีต่างๆ ได้ดี มีค่าสัมประสิทธิ์ของความเสียดทานต่ำกว่าไนลอนธรรมดาถึง 25% ซึ่งจะลดอันตรายจากการเพิ่มขึ้นของความร้อนที่เกิดจากการเสียดสีของชิ้นงาน และเนื่องจาก CASTNYLON มีสารหล่อลื่นในตัว จึงไม่จำเป็นต้องมีซีล เหมือนแบริ่งชนิดอื่น
CASTNYLON สามารถใช้เครื่องจักร เครื่องอุปกรณ์ทั่วๆไป เช่นเครื่องกลึงเครื่องเจาะ เครื่องไส เครื่องคว้าน ฯลฯ ผลิตชิ้นงานรูปทรงต่างๆ เหมือนชิ้นงานที่ทำจากโลหะทั่วไป เช่น แสตนเลส ทองแดง อะลูมิเนียม เป็นต้น
มีหลายขนาด เช่น ชนิดท่อกลมกลวง เส้นผ่าศูนย์กลางภายนอกจะมีขนาด 50-1000 มม.
ชนิดแท่งกลมตัน มีขนาด 10-1000 มม.
ชนิดแผ่น มีความหนาตั้งแต่ 5-100 มม. (ขนาดแผ่น 1200x2400 มม.)
และเกรดต่างๆ ให้เลือกไว้ใช้งานตามความเหมาะสม เช่น
GRADES
OILON, NYLUB, H.S. BLUE (M.C.NYLON)
ข้อดีของการนำ “พลาสติกวิศวกรรม” มาใช้
- ไม่ต้องใช้น้ำมันหล่อลื่น ทนแรงเสียดทานได้ดี
- ไม่มีเสียงดัง
- ทนสารเคมีได้ดี
- เป็นฉนวนไฟฟ้า
- มีน้ำหนักเบาเท่ากับ 1 ส่วน 8 ของน้ำหนักบรอนซ์ หนักเท่ากับ 1 ส่วน 7 ½ เท่าของแสตนเลส และหนักเพียงครึ่งหนึ่งของอะลูมิเนียม ดังนั้นในปริมาณที่เท่ากันจึงทำให้ราคา “พลาสติกวิศวกรรม” ถูกกว่า และยังทำให้ประหยัดพลังงานต้นกำลัง และประหยัดโครงสร้าง
- ปรับแต่งได้ เหมือนโลหะ
สามารถนำไปใช้งานวิศวกรรมได้อย่างกว้างขวาง ยกตัวอย่าง เช่น แผ่นกรอง อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษและปูนซีเมนต์ แผงกันกระแทกของท่าเรือ และกันชนของขอบเรือ คอนเวเยอร์ลำเลียง และบรรจุภัณฑ์ โรลเลอร์ตลับลูกปืน แผ่นรองโซ่ เฟืองเกียร์ อุตสาหกรรมเคมี หน้าแปลน สเปยเซอร์ ชิ้นส่วนในเครื่องปั๊มน้ำ บูชเรือ แผ่นรองปั๊มเขียงในอุตสาหกรรมอาหาร สกรูลำเลียง อุตสาหกรรมสิ่งทอ ล้อรถเข็น รถยกแฮนด์พาเลส แผ่นรองเลื่อนสับหลีกรางรถไฟ แผ่นกันกระแทกตู้คอนเทรนเนอร์ แหวนกระบอกสูลส่งปูนซีเมนต์ สลิปเปอร์ลิฟท์ บูชของเครื่องเติมอากาศบำบัดน้ำเสีย โรงเลอร์รถแทรกเตอร์ และรถเกษตรกรรม บูชเครื่องสูบน้ำ ฯลฯ
การปรับแต่งชิ้นงาน (MACHINING)
สามารถใช้เครื่องจักร เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้กับงานโลหะได้ดี การขึ้นรูปหรือการปรับแต่งชิ้นงาน เช่น การกลึง การเจาะ การทำเกลียวนอก การทำเกลียวใน การไส การเลื่อย ฯลฯ จำเป็นต้องใช้เครื่องที่มีความเร็ว (รอบสูง 800 รอบขึ้นไป) และใบมีดต้องคม แต่ไม่แหลม ควรมนเล็กน้อยและควรแต่งผิวให้เรียบด้วยกระดาษทรายน้ำหรือหินน้ำมัน
การปรับแต่งชิ้นงาน จะมีการตัดคล้ายกับการปรับแต่งชิ้นงานที่เป็นโลหะอ่อน เช่นทองเหลือง อะลูมิเนียม เป็นต้น ตำแหน่งของชิ้นงานและมุมของมีดตัด อาจจะวางในตำแหน่งที่ต่างจากโลหะ ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำยาหล่อเย็น ยกเว้นการปรับแต่งชิ้นงานที่ต้องใช้เวลานาน จึงจำเป็นต้องใช้ เพื่อยืดอายุการใช้งานของเครื่องมือหรือใบมีด
การกลึง (Turning)
การกลึงชิ้นงานที่ทำจาก “พลาสติกวิศวกรรม” ควรใช้ความเร็วสูง คือประมาณ 3.0-4.5 เมตร/วินาที ถ้าต้องการกลึงผิวหยาบ อัตราการป้อนงานควรอยู่ระหว่าง 0.010-0.25 มม. ต่อรอบสำหรับชิ้นงานที่เส้นผ่านศูนย์กลางมีขนาดเล็ก และอัตตราป้อนงานควรอยู่ระหว่าง 0.08-0.18 มม. ต่อรอบสำหรับชิ้นงานที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางที่ใหญ่ขึ้น ชิ้นงานที่ต้องการความแม่นยำสูง มีผิวเรียบควรใช้อัตราการป้อนงาน มีดกลึงจะต้องคม และมีมุมลบหลังด้วย ชิ้นงานจะต้องจับยึดให้แน่น มีดกลึงชนิดหัวคาร์ไบท์ใช้ได้ดี และต้องลับให้คม แต่โดยทั่วไปจะใช้มีดกลึงชนิด High Speed Steel
Nylon 6 มีลักษณะสีขาวขุ่น ทนทานต่อแรงกระแทกได้ดี ดูดซับเสียงและแรงสั่นสะเทือนได้ดี ทนทานต่อการขัดสีและมีความลื่นในตัว ใช้งานในอุณหภูมิสูงได้ 120 ํ C เพราะมีจุดหลอมเหลว 180 - 260 ํ C แล้วแต่ชนิดของเกรดวัตถุดิยที่นำมาใช้ในการผลิต การนำไปใช้งานทำแบริ่ง บู๊ช เสื้อวาล์ว แหวนรองของเครื่องจักร ซีล แหวนล็อค ลูกกลิ้ง เกียร์ เป็นต้น